รังสียูวี ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด
เมื่อกล่าวถึงรังสียูวี หลายคนคงนึกถึงผลกระทบและอันตรายต่อผิวหนัง เพราะนอกจากจะทำให้ผิวคล้ำเสีย เหี่ยวย่นแล้ว อาจเป็นต้นตอของมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย รวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาหากจ้องโดยตรง แต่แสงยูวีไม่ได้มีโทษอย่างเดียว ประโยชน์ต่อร่างกายก็มีเช่นกัน และหากเรารู้จักธรรมชาติของแสงยูวีและวิธีป้องกัน ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกเกินไป ดังนั้นก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับแสงยูวีกันดีกว่า
สารบัญ
- รังสียูวีคืออะไร
- รังสียูวีมีกี่ชนิด
- รังสียูวี สีอะไร
- รังสียูวีมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
- การป้องกันแสงยูวี
- สรุป
รังสียูวีคืออะไร
แสงยูวี คือชื่อที่คนเรียกแสงอุลต้าไวโอเล็ต (ultraviolet) แบบง่ายๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า รังสีเหนือม่วง ซึ่งสีม่วงเป็นคลื่นสั้นที่สุดที่เห็นด้วยตา โดยแสงที่เห็นด้วยตามีขนาด 400 – 700 นานอมิเตอร์ แต่แสงยูวีมีความยาวคลื่นต่ำกว่าแสงที่มองเห็นด้วยตา หรือต่ำกว่า 400 นานอมิเตอร์ เราจึงไม่สามารถมองเห็นแสงยูวีได้ด้วยตาเปล่านั่นเอง
รังสียูวีจากดวงอาทิตย์ถึงผิวโลกในฤดูต่างๆ จะมีจำนวนแตกต่างกัน โดยพบปริมาณแสงยูวีที่ระดับความสูงมากกว่าระดับต่ำ เพราะใกล้ดวงอาทิตย์ และมีปริมาณสูงสุดในเวลาเที่ยง รวมทั้งแสงยูวียังสะท้อนต่อผิววัตถุที่ต่างกัน เช่น ถ้าเป็นผิวหิมะสะท้อนได้ถึง 60 – 80% หาดทรายประมาณ 15% ผิวน้ำทะเลประมาณ 5% ดังนั้น ปริมาณแสงยูวีที่สะท้อนเข้าตาเวลาที่เราจ้องมองพื้นผิวต่างๆ จึงแตกต่างกันไปด้วย
รังสียูวีมีกี่ชนิด
โดยปกติสามารถแบ่งประเภทของแสงยูวีได้ 3 ชนิด ตามความยาวคลื่นของแสง โดย
- รังสียูวีเอ (UVA)มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 320-400 นาโนเมตร และไม่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เราจึงได้รับรังสีชนิดนี้เต็มๆ
- รังสียูวีบี (UVB)มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 290-320 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกดูดซับรังสีชนิดนี้ไม่ได้ทั้งหมด ทำให้มีบางส่วนตกลงมายังพื้นโลก เราจึงได้รับรังสีนี้บางส่วน
- รังสียูวีซี (UVC)มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 220-290 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศโลกสามารถดูดซับรังสียูวีซีจากธรรมชาติไว้ได้ทั้งหมด รังสีชนิดนี้จึงไม่ตกลงมายังพื้นโลก ทำให้เราไม่ได้รับรังสีนี้เลย
โดยในบรรดารังสียูวีทั้งสามประเภทนี้ UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด เพราะไม่สามารถก่อให้เกิดอาการแดดเผา (sunburn) และร่างกายสามารถป้องกันตัวเองได้โดยสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมา แต่ก็อาจทำให้ผิดคล้ำขึ้นได้ และอาจกระตุ้นมะเร็งผิวหนังได้หากได้รับรังสีในปริมาณมากและบ่อย นอกจากนี้ ยูวี UVB อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา โดยทำให้เกิดอาการ arc eye และอาจพัฒนาจนทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract) ได้ ดังนั้น ควรสวมใส่แว่นป้องกัน หรือทาโลชั่นที่มีค่า SPF สูงๆ เพื่อปกป้องตาจากแสงยูวี
ร่มกันยูวีที่น่าสนใจ : ร่มไม้เท้า
รังสียูวีสีอะไร
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น รังสียูวี หรือ รังสีในช่วงอัลตราไวโอเลต คิดเป็น 5%ของแสงแดด และมีความยาวคลื่นในช่วง 100-400 นาโนเมตร ซึ่งดวงตามนุษย์มองไม่เห็นได้ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสีอะไร
รังสียูวี มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ทุกอย่างมีคุณสมบัติทั้งข้อดีและข้อเสีย แสงยูวีก็เช่นกัน แม้หลายคนจะนึกถึงข้อเสียก่อน เช่น ทำลายผิวหนังและดวงตา ภูมิคุ้มกัน แต่อีกด้าน หากเราไม่ได้รับแสงยูวีมากเกินไปก็มีประโยชน์มากเช่นกัน เช่น การสร้างวิตามินดีซึ่งดีต่อผิวและกระดูก และยังช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย
-
กระตุ้นการสร้างวิตามินดี
โดยแสงยูวีกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด กระดูก และภูมิคุ้มกัน ดังนั้น เราควรออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยควรหลีกเลี่ยงแดดในช่วง 00-14.00 น. เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
-
รักษาโรคกระดูกและโรคผิวหนังบางชนิดได้
เช่น โรคสะเก็ดเงิน โดยใช้แสงยูวีฉายไปที่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยรักษาโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากเซลล์ที่สร้างเม็ดสีผิวถูกทำลาย ทำให้เป็นรอยด่างที่ผิวหนัง การใช้รังสียูวีทำให้สีผิวกลับมามีสีเข้มขึ้นได้ แต่ก็อาจเสี่ยงต่อมะเร็วผิวหนังเช่นกัน
-
อาจทำลายผิวหนังได้หากได้รับแสงยูวีมากเกินไป
เช่น ผิวคล้ำแดด เนื่องจากเม็ดสีเมลานินถูกสร้างขึ้นจากกระกระตุ้นของแสงยูวี รวมทั้งผิวไหม้ หากได้รับยูวีบีในปริมาณสูง ซึ่งทำให้ผิวชั้นนอกถูกทำลายได้ และหากรังสียูวีเอผ่านผิวหนังชั้นนอกไปยังชั้นหนังแท้ ซึ่งทำให้ผิวสูญเสียความยืดหยุ่นและทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพ ซึ่งทำให้เกิดริ้วรอยได้ นอกจากนี้ รังสียูวียังเข้าทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนังได้โดยตรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
-
ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา
เช่น ต้อกระจก และหากได้รับรังสียูวีเป็นเวลายาวนานต่อเนื่อง ก็อาจทำให้เกิดต้อเนื้อ และกระจกตาอักเสบ
-
ใช้แสง UVC ฆ่าเชื้อโรค หรือเร่งปฏิกิริยาเคมีได้
การป้องกันแสงยูวี
แสงยูวีสามารถการป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากรังสียูวีได้ ดังนี้
- ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวมีสีเข้ม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการปกป้องร่างกายจากรังสียูวีมากกว่าเสื้อและกางเกงที่สีอ่อน โดยปัจจุบันเสื้อผ้าบางยี่ห้อใช้สารเคลือบวัสดุที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสียูวีได้ ช่วยเพิ่มระดับการปกป้องที่มากขึ้นกว่าปกติ
- สวมหมวก เพื่อป้องกันคอจากแสงแดด และไม่ให้แสงแยกตาโดยตรง
- แว่นกันแดด ควรเลือกสวมแว่นกันแดดที่มีเลนส์ขนาดใหญ่และมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบีได้ 99-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสังเกตได้จากป้าย UV Absorption up to 400 nm ส่วนแว่นกันแดดที่ไม่ป้องกันรังสียูวีจะไม่มีป้ายนี้
- ช่วงเวลาที่ออกแดดก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วง 9.00-14.00 น. เนื่องจากมีความเข้มของรังสียูวีมากและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และควรทาครีมกันแดดทุกครั้งหากจำเป็นต้องออกแดดจัด
- กางร่มกันuv ช่วยป้องกันร่างกายจากรังสียูวีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
สามารถดูสินค้าประเภทร่มกันuv ได้ที่นี่ : ร่มกันuv
- ที่สำคัญอย่าลืมทาครีมกันแดดทุกครั้ง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากรังสียูวีโดยตรง โดยเลือกครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันรังสียูวีบี (Sun Protection Factor: SPF) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำเพื่อคงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีหากสัมผัสน้ำหรือเหงื่อออก และควรทาในปริมาณที่มากพอ
สรุป
โดยสรุป รังสียูวีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ในทางตรงข้ามยังมีประโยชน์ช่วยรักษาโรคต่างๆ และช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของเราได้ และหากเรารู้วิธีป้องกันก็สามารถลดความเสี่ยงของแสงยูวีที่มีผลต่อร่างกายได้ ดังนั้น อย่าลืมป้องกันตามความเหมาะสม และออกแดดบ้างเพื่อความสมดุลของร่างกาย
อ้างอิง
https://eent.co.th/articles/098/
https://www.pobpad.com/รังสีอัลตราไวโอเลต-ประโ
https://www.thaicream.com/17297239/รังสี-uv-คืออะไร
อ่านแล้วชอบบทความ Sukhogroup (ร้านจำหน่ายของชำร่วยงานฌาปนกิจราคาถูก) ก็ขอฝากกด Like เพจด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ จากเรา ไว้เจอกันบทความหน้าครับ
บทความแนะนำเพิ่มเติม:
กระเป๋าผ้าสกรีนโลโก้ ลายเก๋ๆ
ของชำร่วยงานศพอะไรดี วิธีการเลือกซื้อ