สารบัญ
- การบวชพระคืออะไร
- ค่าใช้จ่ายในงานบวชต้องเตรียมประมาณเท่าไหร่
- บวชพระแบบประหยัดไม่จัดงาน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
- บวชนาค
- ความแตกต่างระหว่างบวชพระ กับ การบวชสามเณร
- งานบวชนิยมจัดช่วงไหนบ้าง
- ฤกษ์ลาสิขา
การบวชพระ คืออะไร
การบวช (Buddhist Ordination ) ถือเป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาอย่างยาวนานในพระพุทธศาสนา ตามประเพณีแล้วชายไทยเมื่อมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ในฐานะพุทธศาสนิกชนจะเดินทางเข้าสู่การละทิ้งวิถีชีวิตเดิมเพื่อศึกษาวัตถุประสงค์อันบริสุทธิ์ทางธรรม เพื่อละพันธนาการจากโลกวัตถุ และศึกษาการหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ
ซึ่งถือเป็นการเรียนทางธรรม ที่จะทำให้ชีวิตพบกับความเจริญรุ่งเรือง ถือเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดาและเป็นการสืบสานประเพณีรวมถึงยังเป็นกุศลบุญในการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว เเละยังเป็นการสืบทอดความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาและธรรมวินัยอันดีงามนั่นเอง
ค่าใช้จ่ายในงานบวชต้องเตรียมประมาณเท่าไหร่?
การจัดงานบวชแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันตามแต่ศรัทธาของเจ้าภาพและวัดที่ต้องการบวช โดยมากจะแบ่งเป็นการบวชแบบหนึ่งวันจบ เเละ งานบวชแบบ2 วัน สิ่งที่เจ้าภาพควรคำนึงถึงเป็นอย่างแรกว่าต้องการจัดงานเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เพราะงบประมาณในการจัดงานบวชมีตั้งแต่ 20,000 ถึง 100,000 บาท เลยทีเดียว ค่าใช้จ่ายนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การ์ดเชิญ ของชำร่วยงานบวช มหรสพ ค่าทำพิธี ต่างๆเช่น ค่าพิธีปลงผม (บางวัดผู้บวชสามารถเตรียมอุปกรณ์เองได้)
ค่าพิธีการขอขมาบุพการี (ซึ่งเป็นค่าน้ำอบและดอกไม้และพานเทียนแพ บางวัดจะเตรียมให้หรือถ้าเกิดทางครอบครัวต้องการจะซื้อจะมีราคาค่อนข้างสูงถึง 2000 บาท) พิธีอาบน้ำนาค (ซึ่งส่วนใหญ่จะรวมชุดนาคไปด้วย) พิธีทำขวัญนาค (เจ้าภาพจำกัดงบประมานเองได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารที่เลี้ยงผู้มาร่วมงาน) พิธีแห่รอบอุโบสถและเลี้ยงเพลพระ (ขั้นตอนนี้จะค่อนข้างละเอียด เพราะจะรวมถึงเครื่องบวชด้วยซึ่งจะประกอบไปด้วย ผ้าไตรจีวร เหรียญโปรยทานงานบวช ส่วนเรื่องอาหารเลี้ยงพระเจ้าภาพกำหนดตามศรัทธา ซึ่งต้องรวมถึงซองปัจจัยที่จะถวายพระผู้มาร่วมงานตั้งแต่ 10 รูปถึง 25 รูปตามลำดับความใหญ่ของงาน)
สามารถเลือกชมของชำร่วยงานบวชเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งนี้ >>> ของชำร่วยงานบวชพระ
บวชพระเเบบประหยัดไม่จัดงานต้องเตรียมอะไรบ้าง?
หากตัดสินใจและมีศรัทธาในการจะบวชสิ่งแรกที่ต้องเตรียมการคือเลือกวัด ขั้นตอนการเตรียมงานจะแตกต่างกันตามประเพณีของวัดนั้นๆ ขั้นตอนแรกที่จะเหมือนกัน คือการแจ้งพระอุปัชฌาย์ โดยมากพระอุปัชฌาย์ อาจจะเป็นเจ้าอาวาสของวัดเอง ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าอาวาสวัด ผู้บวชควรจะสอบถามหาพระอุปัชฌาย์ เพื่อกำหนดฤกษ์งานบวช โดยมากควรจะเลือกเป็นช่วงบ่ายเพราะช่วงเช้าพระอาจจะมีกิจของสงฆ์ นอกจากนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและทำให้พิธีราบรื่นผู้บวชควรหัดท่องและไปซ้อมพิธีขานนาค ส่วนข้อมูลในการถวายของพระ ควรจะถามผู้รู้ในจังหวัด หรือติดต่อมัคทายกวัดว่าควรจะเตรียมเครื่องบริขารจำพวกไตรจีวรหรือเหรียญโปรยทางงานบวช ลองถามวัดที่ต้องการบวชว่ามีการจัดเตรียมเครื่องบวชให้ทั้งหมดหรือไม่ การแต่งกายในวันบวชและวันปลงผม ควรนุ่งขาวห่มขาว และเตรียมปัจจัยให้ทางวัดหลังจบพิธีด้วย
บวชนาค
การบวชนาค เป็นพิธีกรรมที่คนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศพม่า กัมพูชา ลาว และไทย ใช้เรียกผู้ชายที่จะขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยจะมีพิธีกรรมต่างกัน คือ พิธีบวชนาคของประเทศพม่าจะปลงผมหลังจากแห่แล้วในขณะที่ไทยจะแห่ก่อนแล้วปลงผม แม้ว่าพิธีการบวชนาคจะไม่มีการพูดถึงตามประวัติพระพุทธศาสนาในอินเดียแต่ใน ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เรียกรวมรวม แทนคำบวชพระเพราะถือเป็นพิธีกรรมแรกก่อนที่จะเข้าพิธีขานนาคตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา
ความเเตกต่างระหว่างการบวชพระ เเละ การบวชสามเณร
ข้อแตกต่างของการบวชพระและการบวชสามเณรอย่างที่หนึ่งคือ การบวชสามเณรจะใช้คำว่า การบรรพชา ซึ่งหมายถึงการละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นการบวชของผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ในขณะที่การบวชพระจะเรียกว่า การอุปสมบท
ปัจจุบันการบวชพระในประเทศไทยแบ่งเป็นสองแบบ ตามความเชื่อของคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายแรกคือฝ่ายมหานิกาย ที่จะเรียกว่าการบวชพระแบบ อุกาสะ แปลจากคำบาลีหมายถึงคำว่าขอโอกาส ซึ่งเป็นการบวชพระแบบเดิมที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ฝ่ายที่สองคือฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศพม่ามีขั้นตอนที่สั้นลงนั่นเอง
งานบวชนิยมจัดช่วงไหนบ้าง
ตามค่านิยมเก่าที่เคยมีมาการบวชที่เหมาะสมจะเป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงตุลาคม เพราะสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและเหมาะสม ในการศึกษาธรรม อีกทั้งตามพระธรรมวินัยกำหนดแล้วว่าพระอาจารย์จะต้องจำวัดอยู่ที่วัดตลอดซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ที่ต้องการบวชสามารถเข้าถึงธรรมะได้มากกว่าช่วงฤดูอื่น
ยกตัวอย่างเช่นฤดูร้อนของประเทศไทยดินฟ้าอากาศไม่ค่อยเป็นใจความร้อนทำให้กายไม่สบายศึกษาธรรมแล้วจิตใจไม่ผ่องใส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเป็นจิตศรัทธาของผู้ต้องการบวชเองว่าสะดวกช่วงไหนที่จะเข้าศึกษาธรรมและขัดเกลาจิตใจตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนใหญ่ถ้าเข้าพรรษาแล้วจะไม่นิยมบวชแต่ก็แล้วแต่พื้นที่ ของวัดส่วนใหญ่จะให้บวชก่อนเข้าพรรษา หลายคนมีความเชื่อว่าไม่สามารถฝึกได้ระหว่างพรรษา ซึ่งปัจจุบันไม่จริง เสมอไป เพราะถ้าก่อนเข้าพรรษา ไม่ได้ปราวนาพรรษาก็สามารถลาสิขาได้ตามต้องการ หากว่าปราวนาพรรษา แล้วอยู่ไม่ครบ พรรษาจะเรียกว่าแหกพรรษา ซึ่งตามภาษาแล้วฟังดูไม่เป็นสิริมงคลจึงไม่นิยมทำกัน
ฤกษ์ลาสิขา
โดยมากแล้วขั้นตอนการเตรียมตัวบวชจะรวบรวมไปถึงฤกษ์ลาสิขาไปด้วย เพราะถือว่าเป็นการเข้าสู่ เพศฆราวาส เพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าบวชช่วงไหนโดยมากถ้าบวชก่อนเข้าพรรษาจะนิยมลาสิกขาหลังออกพรรษาไปแล้ว โดยคำนึงถึงการปราวนา ว่าตั้งใจจะอยู่ให้ครบ พรรษาหรือไม่ หากผู้บวชตั้งใจและปราวนาพรรษาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว จะไม่นิยมลาสิขาก่อนกำหนด ภาษาชาวบ้านเรียกว่าแหกพรรษา มีความเชื่อว่าทำอะไรจะไม่เจริญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้บวช ถือผ้าเหลืองเป็นผู้มีศีลต้องมีจิตใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ กุศลเกิดจากการปฎิบัติตัวของเรา บวชเป็นพระปฏิบัติดีก็ได้ส่วนมากถ้าทำบาปก็บาปหนักเช่นกัน
อ่านแล้วชอบบทความ Sukhogroup (ร้านจำหน่ายของชำร่วยงานขาวดำราคาถูก) ก็ขอฝากกด Like เพจด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ จากเรา ไว้เจอกันบทความหน้าครับ